หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ระบุตำแหน่งแหล่งจ่ายน้ำดับเพลิง

ระบุตำแหน่งแหล่งจ่ายน้ำดับเพลิง

            ข้อเสนอแนะนี้น่าจะเป็นข้อเสนอแนะที่ควรนำเสนอเป็นประจำ เพราะเป็นปัญหาที่พบบ่อย และเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่ผู้ตรวจอาคารหรือผู้ดูแลอาคารมักมองข้ามเหตุการณ์อัคคีภัยหลายครั้งที่ผ่านมา พบว่าการขาดแหล่งน้ำดับเพลิงเป็นสาเหตุให้การปฏิบัติการดับเพลิงช้า และทำให้เพลิงลุกลามใหญ่โตจนยากต่อการควบคุม เคยมีกรณีถึงขนาดต้องดูดน้ำจากท่อระบายน้ำขั้นมาใช้ในการดับเพลิง เพราะหาแหล่งน้ำไม่ได้
ให้ปรับปรุงหัวรับน้ำดับเพลิง
            ข้อเสนอแนะนี้น่าจะเป็นข้อเสนอที่ควร นำเสนอเป็นประจำ เพราะเป็นปัญหาที่พบบ่อย และเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่ผู้ดูแลอาคารมักมองข้ามในการตรวจอาคารที่ผ่านมา พบว่าอาคารจำนวนมาก หัวรับน้ำดับเพลิงไม่ได้อยู่ในสภาพที่สามารถต่อรับน้ำดับเพลิงได้ เช่น ฝาครอบหาย มีขยะในหัวรับน้ำ หัวรับน้ำผิดประเภทชำรุด ไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าจะส่งน้ำไปที่ใด ไปถังน้ำ หรือท่อยืน หรือระบบสปริงเกอร์ หรือโซนไหนหรือเข้ากับระบบใด ดังนั้นการจัดทำป้ายหัวรับน้ำดับเพลิงที่เห็นได้ชัดเจน และบ่งบอกหน้าที่ของหัวรับน้ำ
ให้ย้ายตำแหน่งอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงที่อยู่ใกล้หัวจ่ายแอร์
            อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงจะต้องอยู่ห่างจาหัวจ่ายแอร์อย่างน้อย 0.40 เมตร เพื่อไม่ให้กระแสลมจากแอร์มีผลกระทบกับการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับ ดังนั้น หากตรวจพบเหตุการณ์ดังกล่าว จึงควรเสนอให้มีการย้ายอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงให้ห่างออกไปแลอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
ให้ย้ายตำแหน่งหัวสปริงเกลอร์ที่อยู่ใกล้หัวจ่ายแอร์
            หัวสปริงเกลอร์จะต้องอยู่ห่างจากหัวจ่ายแอร์อย่างน้อย 0.40 เมตร เพื่อไม่ให้กระแสลมจากแอร์มีผลกระทบกับการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนของหัวสปริงเกอร์ ดังนั้น หากตรวจจับความร้อนของหัวสปริงเกลอร์ ดังนั้น หากตรวจพบเหตุการณ์ดังกล่าวจึงควรเสนอให้มีการย้ายหัวสปริงเกลอร์ให้ห่างออกไปและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามหากพบว่าการย้ายหัวสปริงเกลอร์มีความยุ่งยาก เนื่อจากการที่ต้องต่อท่อใหม่ ก็อาจใช้วิธีเปลี่ยนชนิดหัวจ่ายแอร์หรือทิศทางของการเป่าลมแทนก็ได้
          จบแล้วค่ะ ไว้คราวหน้าเราจะเอาบทความเกี่ยวกับรับเหมาก่อสร้าง ต่อเติมและรับสร้างบ้าน มาให้เพื่อนๆได้อ่านกันนะค่ะ บ้ายบาย

แหล่งที่มาจาก รับสร้างบ้าน



วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ฟิล์มกรองแสงต่างๆ

อากาศในประเทศไทยบ้านเรามันร้อนสะไม่มีอะไรจะบรรยาย ดังนั้นเราจึงต้องมีสิ่งที่สามารถป้องกันและควบคุมความร้อนให้กับตัวเรา จึงได้มีการผลิตฟิล์มกรองแสงมากมายขึ้น ทั้ง ฟิล์มติดกระจก ฟิล์มอาคาร ฟิล์มติดบ้าน ฟิล์มกันความร้อน ฟิล์มใสที่ป้องกันความร้อนและช่วยในการประหยัดพลังงาน เป็นต้นเพราะฟิล์มกรองแสงจะช่วยทั้งป้องกันและก็ลดความร้อนให้กับเราได้ อย่างเช่น เมื่อเราซื้อรถยนต์มาใหม่ หากเราไม่ติดฟิล์มกันความร้อนของเรา รับรองคะว่าต้องขับรถกันไม่ได้แน่นอนโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวันที่แดดจัดๆ ถึงแม้จะเป็นช่วงเย็นที่แดดอ่อนๆก็ยังร้อนอยู่ดี เพราะความร้อนมันจะสะสมอบอยู่ในรถของเราทำให้รถร้อน แต่เมื่อเราติดฟิล์มกรองแสง มันจะช่วยป้องกันและลดความร้อนให้กับเรา ทำให้เราขับรถได้อย่างสบายๆ แสงแดดก็ไม่ส่องมาทำให้เราแสบตาและก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้เนื่องจากตาเรามองไม่ชัดเพราะแสงแดดและแสงไฟ ฟิล์มกรองแสงมันจะช่วยสะท้อนแสงนั้นให้เราได้ ทำให้เราสบายตาในการขับขี่รถ และยังช่วยประหยัดน้ำมันได้อีกด้วย เพราะเครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักแข่งกับแดดที่ร้อน เครื่องปรับอากาศในรถก็ไม่ต้องทำงานหนัก ทำให้ระยะเวลาในการใช้งานนานขึ้น และยังช่วยประหยัดน้ำมันทางอ้อมได้อีกด้วย ของตกแต่งหรืออุปกรณ์ต่างๆในรถก็จะไม่เสื่อมหรือซีดเร็วด้วย ส่วนในอาคารบ้านเรือนเราก็จำเป็นต้องติดฟิล์มกรองแสงนะคะ ประโยชน์มันก็จะคล้ายๆกับรถยนต์เลยคะ แอร์ในบ้านเราก็ไม่ต้องทำงานหนัก ประหยัดค่าไฟฟ้าภายในบ้านไปในตัว และก็ยังป้องกันเครื่องใช้ในบ้านไม่ให้เสื่อมสภาพเร็วด้วย เห็นไมคะว่าฟิล์มกรองแสงก็เป็นสิ่งที่สำคัญและก็จำเป็นนะคะ เวลาเลือกหรือจะตัดสินใจเลือกฟิล์มกรองแสงนั้นก็ควรที่จะศึกษาให้ดีก่อนเพื่อประโยชน์สูงสุดกับตัวเรา ฟิล์มกรองแสงนั้นมีมากมายหลายแบบ หลายชนิด หลายยี่ห้อ  อยู่ที่เราว่าจะเลือกใช้ฟิล์มแบบไหนให้เหมาะสมกับการใช้งานและก็ต้องเลือกที่คุณภาพด้วยนะคะ ราคานั้นก็ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพนะ บางชนิดราคาแพงแต่คุณภาพอาจต่ำก็เป็นได้ ส่วยขั้นตอนการปฏิบัติงานก็ควรเลือกช่างที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญด้วยนะ  และเมื่อติดตั้งเสร็จก็ควรปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่ช่างบอกไว้ด้วย
เครดิต ฟิล์มกรองแสง

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พื้นที่หน้าตัดของตัวนำไฟฟ้า


พื้นที่หน้าตัดของตัวนำไฟฟ้า

พื้นที่หน้าตัดของตัวนำไฟฟ้า

            เพื่อให้มีความแข็งแรงทางกลเพียงพอ พื้นที่หน้าตัดของตัวนำฟ้าที่ต่อกับอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยทางฟ้า ที่ประตูต้องไม่น้อยกว่า 0.75 ตารางมิลลิเมตร
วิธีการติดตั้ง
1.   การติดตั้งทางไฟฟ้าจะต้องมีสัญลักษณ์ชี้บ่งให้ง่ายต่อการเข้าใจ
2.   จุดต่อหลักต่อสายและอุปกรณ์ต่อสายจะต้องอยู่ในกล่องหรือแผงที่ออกมาเพื่อจุดประสงในการต่อสาย
3.   ถ้าหลังจากตัดวงจรเมนสวิตช์ หรือสวิตช์ของลิฟต์ชุดใดชุดหนึ่ง ถ้าจุดต่อสายใดยังมีความต่างศักย์อยู่ จุดต่อสายนั้นจะต้องแยกออกให้ชัดเจนจากจุดต่อสายที่ไม่มีความต่างศักย์ และถ้ามีขนาดความต่างศักย์เกิน 50 โวลต์ จะต้องมีป้ายบ่งชี้ชัดเจน
4.   จุดต่อสายที่หากเกิดลัดวงจรถึงกันโดยอุบัติเหตุจะทำให้ลิฟต์ทำงานผิดพลาดจนเกิดอันตราย จะต้องแยกห่างกันอย่างเพียงพอชัดเจน เว้นแต่ลักษณะของอุปกรณ์จะมีการป้องกันที่ดีพอแล้ว
5.   เพื่อให้มีการป้องกันทางกลที่ต่อเนื่อง เปลือกหุ้มของสายไฟตัวนำหรือสายไฟฟ้ากำลังจะต้องหุ้มตลอดจนถึงกล่องสวิตช์และอุปกรณ์หรือจะต้องหุ้มสายไฟตลอดถึงปลอกแหวน
หมายเหตุ
กรอบประตูชานพักและกรอบประตูห้องโดยสายถือเป็นกล่องปิด ถ้ามีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายทางกลเนื่องจากการเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนหรือความคมของชอบกล่องหุ้มสายตัวนำที่ต่อกับอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยทางไฟฟ้า จะต้องมีการป้องกันทางกลเพียงพอ
6.   ถ้าในกล่องสายตัวนำมีสายตัวนำที่มีความต่างศักย์ทางไฟฟ้าแตกต่างกัน สายตัวนำทั้งหมดจะต้องมีฉนวนที่ทนความต่างศักย์ทางไฟฟ้าได้ เท่ากับค่าความต่างศักย์ทางไฟฟ้าสูงสุดของสายตัวนำในกล่องนั้น
อุปกรณ์ต่อสาย
            อุปกรณ์ต่อสายแบบเสียบเข้า ในวงจรเพื่อความปลอดภัย จะต้องถูกออกแบบไม่ให้สามารถเสียบกลับทางได้
ระบบแสงสว่างและเต้ารับไฟ
1.   แหล่งจ่ายแสงสว่างในห้องลิฟต์ ปล่องลิฟต์และห้องเครื่อง รวมทั้งห้องรอก จะต้องแยกออกอิสระจากแหล่งจ่ายกำลังให้เครื่องลิฟต์ อาจจะโดยการแยกวงจรไฟฟ้าหรือต่อรับไฟจากด้านต้นทางของเมนสวิตช์ที่จ่ายไฟให้เครื่องลิฟต์
2.   แหล่งจ่ายไฟให้เต้าเสียบไฟที่หลังคาลิฟต์ห้องเครื่องลิฟต์ห้องรอกและในบ่อลิฟต์จะต้องใช้จากวงจรไฟฟ้า เต้ารับไฟเหล่านี้ต้องมีมาตรฐานการไฟฟ้า
-          รุ่น 2P-PE 250 V
-          รุ่น Safety Extra-Low Voltage
ตามข้อกำหนด CENELEC HD 384.4.41 S2 411 การใช้เต้าจ่ายไฟไม่จำเป็นต้องมีขนาดพื้นที่หน้าตัดให้เท่ากับอัตราการทนกระแสไฟของเต้าจ่ายไฟ ขนาดพื้นที่หน้าตัดของสายไฟฟ้า อาจเล็กกว่าได้ ถ้ามีการป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินกำหนดให้สายไฟแล้ว
3.   การควบคุมแหล่งจ่ายไฟสำหรับแสงสว่างและเต้ารับ
-          จะมีสวิตช์ตัดตอนควบคุมการจ่ายไฟให้วงจรแสงสว่างและเต้ารับไฟในห้องลิฟต์
-          ในห้องเครื่องสวิตช์ตัดตอนจะต้องอยู่ใกล้กับทางเข้าเพื่อควบคุมการจ่ายไฟเพื่อแสงสว่าง
-          วงจรที่ควบคุมโดยสวิตช์ จะต้องมีการป้องกันการลัดวงจร