หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ระบุตำแหน่งแหล่งจ่ายน้ำดับเพลิง

ระบุตำแหน่งแหล่งจ่ายน้ำดับเพลิง

            ข้อเสนอแนะนี้น่าจะเป็นข้อเสนอแนะที่ควรนำเสนอเป็นประจำ เพราะเป็นปัญหาที่พบบ่อย และเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่ผู้ตรวจอาคารหรือผู้ดูแลอาคารมักมองข้ามเหตุการณ์อัคคีภัยหลายครั้งที่ผ่านมา พบว่าการขาดแหล่งน้ำดับเพลิงเป็นสาเหตุให้การปฏิบัติการดับเพลิงช้า และทำให้เพลิงลุกลามใหญ่โตจนยากต่อการควบคุม เคยมีกรณีถึงขนาดต้องดูดน้ำจากท่อระบายน้ำขั้นมาใช้ในการดับเพลิง เพราะหาแหล่งน้ำไม่ได้
ให้ปรับปรุงหัวรับน้ำดับเพลิง
            ข้อเสนอแนะนี้น่าจะเป็นข้อเสนอที่ควร นำเสนอเป็นประจำ เพราะเป็นปัญหาที่พบบ่อย และเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่ผู้ดูแลอาคารมักมองข้ามในการตรวจอาคารที่ผ่านมา พบว่าอาคารจำนวนมาก หัวรับน้ำดับเพลิงไม่ได้อยู่ในสภาพที่สามารถต่อรับน้ำดับเพลิงได้ เช่น ฝาครอบหาย มีขยะในหัวรับน้ำ หัวรับน้ำผิดประเภทชำรุด ไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าจะส่งน้ำไปที่ใด ไปถังน้ำ หรือท่อยืน หรือระบบสปริงเกอร์ หรือโซนไหนหรือเข้ากับระบบใด ดังนั้นการจัดทำป้ายหัวรับน้ำดับเพลิงที่เห็นได้ชัดเจน และบ่งบอกหน้าที่ของหัวรับน้ำ
ให้ย้ายตำแหน่งอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงที่อยู่ใกล้หัวจ่ายแอร์
            อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงจะต้องอยู่ห่างจาหัวจ่ายแอร์อย่างน้อย 0.40 เมตร เพื่อไม่ให้กระแสลมจากแอร์มีผลกระทบกับการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับ ดังนั้น หากตรวจพบเหตุการณ์ดังกล่าว จึงควรเสนอให้มีการย้ายอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงให้ห่างออกไปแลอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
ให้ย้ายตำแหน่งหัวสปริงเกลอร์ที่อยู่ใกล้หัวจ่ายแอร์
            หัวสปริงเกลอร์จะต้องอยู่ห่างจากหัวจ่ายแอร์อย่างน้อย 0.40 เมตร เพื่อไม่ให้กระแสลมจากแอร์มีผลกระทบกับการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนของหัวสปริงเกอร์ ดังนั้น หากตรวจจับความร้อนของหัวสปริงเกลอร์ ดังนั้น หากตรวจพบเหตุการณ์ดังกล่าวจึงควรเสนอให้มีการย้ายหัวสปริงเกลอร์ให้ห่างออกไปและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามหากพบว่าการย้ายหัวสปริงเกลอร์มีความยุ่งยาก เนื่อจากการที่ต้องต่อท่อใหม่ ก็อาจใช้วิธีเปลี่ยนชนิดหัวจ่ายแอร์หรือทิศทางของการเป่าลมแทนก็ได้
          จบแล้วค่ะ ไว้คราวหน้าเราจะเอาบทความเกี่ยวกับรับเหมาก่อสร้าง ต่อเติมและรับสร้างบ้าน มาให้เพื่อนๆได้อ่านกันนะค่ะ บ้ายบาย

แหล่งที่มาจาก รับสร้างบ้าน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น