ข้อดีของตัวแปลงภาษา
C ภาษา C เป็นภาษาชั้นกลางกำเนิดขึ้นมา
โดยการนำเอาจุดเด่นของภาษาโครงสร้างชั้นสูง
ผนวกกับความสามารถเข้าถึงในระดับฮาร์ดแวร์ มีโครงสร้างที่ดีของภาษา
ทำให้การแก้ไขและตรวจสอบความผิดพลาดจากการเขียนง่ายขึ้น
และการไม่ขึ้นอยู่กับระบบฮาร์ดแวร์ของเครื่องใดเครื่องหนึ่งเหมือนกับภาษาแอสเซมบลี
ซึ่งจะยึดติดกับ CPU ที่เราใช้
จึงทำให้เราสามารถนำไปใช้งานในระบบฮาร์ดแวร์ที่แตกต่าง หรือคนละ CPU ได้โดยง่าย และยังมีความเร็วในการทำงานใกล้เคียงภาษาแอสเซมบลีอีกด้วย
การเลือกตัวแปลงภาษา C บน MCS51 คอมไพล์เลอร์ภาษา C มีการทำงานที่ใกล้เคียงการเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี
ซึ่งอาจมีหลายตัวจากหลายบริษัท มีทั้งที่แจกฟรี และเสียเงิน
แน่นอนว่าตัวฟรีมีข้อด้อยกว่าตัวที่เสียเงิน ที่นิยมเขียนในประเทศไทยอยู่สี่บริษัท
คือ SDCC Dunfield Keil
Raisonance ซึ่งสามารถดาวน์โหลดตัวทดลองมาใช้ก่อน
ความรู้เบื้องต้นไมโครคอนโทรลเลอร์ MCS51 มีขนาดและประสิทธิภาพพอเหมาะกับงานขนาดกลางและขนาดเล็ก MCS51 เป็นของบริษัท Intel พัฒนามาจากตระกูล MCS48
ความสามารถมาตรฐานในตระกูล MCS51
มีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้ 1.เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ ขนาด 8 บิต 2.รีจีสเตอร์ขนาด 8
บิต จำนวน 34 ตัว 3.รีจีสเตอร์ขนาด 16 บิต 1 ตัว 4.มีหน่วยความจำแรม
ภายในอย่างน้อย 128 ไบต์ 5.สามารถอ้างอิงตำแหน่งหน่วยความจำทั้งหมดได้ 64
กิโลไบต์ 6.ขาพอร์ตเป็นแบบสองทิศทาง
คือสามารถเป็นได้ทั้งอินพุตและเอาต์พุต 7.ไทเมอร์/เคาน์เตอร์ ขนาด 16 บิต อย่างน้อย
2 ตัว 8.มีวงจรสื่อสารแบบอนุกรมแบบฟลูดูเพล็กซ์ 1 ตัว
9.มีวงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกาภายใน ปัจจุบันชิพตระกูล MCS51 นั้นถูกผลิตจากหลายบริษัท เช่น Atmel Philips Dallas ซึ่งใช้ชุดคำสั่งเดียวกัน
เพื่อที่จะสามารถทดแทนกันได้ ซึ่งมีชนิดของตัวถังของชิพหลายแบบให้เลือก
แต่ที่นิยมในบ้านเราเป็นแบบ DIP มีทั้งแบบ 40
ขาและ 24 ขา
ปัจจุบันมีการแข่งขันให้ผลิตชิพที่มีความสามารถมากกว่าของบริษัทคู่แข่ง
เช่นของบริษัท Atmel ชุดคำสั่งมาตรฐานของ MCS51แบ่งออกเป็นห้ากลุ่มคำสั่ง ได้แก่
1.กลุ่มคำสั่งทางคณิตศาสตร์ 2.กลุ่มคำสั่งทางลอจิก 3.กลุ่มคำสั่งโอนย้ายข้อมูล
4.กลุ่มคำสั่งจัดการตัวแปลระดับบิต 5.กลุ่มคำสั่งการกระโดด การเลือกใช้ CPU MCS51 แต่ละเบอร์มีคำสั่งการใช้งานเหมือนกัน
แตกต่างกันที่ความสามารถพิเศษของ CPU นั้นๆเพราะปัจจุบันมีการพัฒนา
CPU ไมโครคอนโทรลเลอร์ไปมาก
ดังนั้นเราต้องศึกษาคุณสมบัติของ CPU ที่จะนำมาใช้งานตามความต้องการของเรา
เครดิต :เครื่องมืออุตสาหกรรม
ก็จบลงไปแล้วสำหรับความรู้ของ ข้อดีของตัวแปลงภาษา คราวหน้าจะหาบทความเกี่ยวกับเรื่อง เครื่องมืออุตสาหกรรม มาฝากกันอีกนะ
ที่มา : oilmeter
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น